Academic Services Section

หลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ2 (ป้อง2)

โครงการฝึกอบรม

หลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2

รุ่นที่ 17 ระหว่าง 20-31   มีนาคม  2566

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

…………………………….

หลักการและเหตุผล

                     ปัจจุบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีบทบาทอย่างสูงในกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น  ทางการแพทย์  การเกษตร  การอุตสาหกรรม  และการศึกษาวิจัย  ในการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาประยุกต์ใช้งานนั้น   ผู้ปฏิบัติงานบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี และมาตรการด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี  จึงเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติงานบางส่วนมีความหวาดเกรงอันตรายในการทำงาน และบางส่วนมีความประมาทในการปฏิบัติงาน  ส่งผลให้อาจได้รับอันตรายจากรังสีในที่สุด

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการปฏิบัติงานทางรังสีโดยปลอดภัยในหน่วยงานต่างๆจึงได้กำหนดจัดฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสีขึ้นโดยมีความมุ่งหมายให้การฝึกอบรมความรู้ความเข้าใจและหลักการป้องกันอันตรายในการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับวัสดุกัมมันตรังสีแก่ผู้ปฏิบัติงานผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานผู้ตรวจสอบดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน  ซึ่งจะยังผลให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม นำความรู้  และประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานของหน่วยงานต้นสังกัดให้เป็นไปโดยปลอดภัยต่อไป

                      หลักสูตรฝึกอบรมในเรื่องการป้องกันอันตรายจากรังสีนี้สถาบันฯกำหนดไว้ 2 ระดับ คือ  ระดับที่ 1 เป็นหลักสูตรระยะสั้นสำหรับช่างเทคนิค ช่างฝีมือและเจ้าหน้าที่ทางรังสีผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการใช้รังสีจากต้นกำเนิดรังสีที่ต้องการนำความรู้ไปใช้ในการขอใบอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ระดับต้นและระดับกลาง ส่วนระดับที่ 2 เป็นหลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่ทางรังสีในโรงพยาบาล  โรงเรียนการแพทย์  อาจารย์  นักศึกษานักวิจัยในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิชาการต่างๆที่ต้องปฏิบัติงานโดยตรงกับสารกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิดผนึก(unsealed radiationsource)ที่ต้องการนำความรู้ไปใช้ในการขอใบอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับสูงรวมถึงผู้ตรวจสอบดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี

วัตถุประสงค์

                             เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิดผนึก (Unsealed Radiation Source) รวมถึงผู้รับผิดชอบการตรวจสอบดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี

คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม

1)    จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า (ในสาขาวิทยาศาสตร์  วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเป็น    ผู้ผ่านการฝึกอบรมระดับ 1 มาแล้ว และมีประสบการณ์ในการทำงานทางรังสีมาพอสมควร )

2)    เป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีในหน่วยงานทางการแพทย์  การเกษตร  อุตสาหกรรม  สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยต่าง ๆ

3)    เป็นผู้สามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้สม่ำเสมอ ระยะเวลาของการฝึกอบรมไม่ต่ำกว่า 80% ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด

4)    ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเข้ารับการทดสอบความรู้  และผู้ที่ผ่านการทดสอบตามเกณฑ์กำหนดจะได้รับประกาศนียบัตรการป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2  เพื่อปฏิบัติงานกับวัสดุกัมมันตรังสีชนิดปิดผนึก และชนิดไม่ปิดผนึก (sealed and unsealed radiation sources)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

          จำนวนที่คาดว่าจะรับได้ 40 คน หากมีผู้สนใจจำนวนมาก สถาบันจะคัดเลือกให้อยู่ในจำนวนนี้และจะ      ขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้สมัครที่เหลือไว้สำหรับการฝึกอบรมในครั้งต่อไป

สถานที่ฝึกอบรม

        ห้องประชุมอาคารเครื่องเร่งอิเล็กตรอน สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

         รวมท่านละ 10,700 บาท (ราคารวม 7%VAT แล้ว)  

§  ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ข้าราชการสามารถเบิกจากต้นสังกัด ได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

      การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549

§  การชำระค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ขอให้ชำระเงินโดยโอนผ่านธนาคาร ก่อนการฝึกอบรม

     (โปรดติดต่อกับเจ้าหน้าที่จัดฝึกอบรมของสถาบันฯ ก่อนการชำระเงินค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพื่อตรวจสอบว่ามีรายชื่อในการฝึกอบรมดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว)

§  กรุณาติดต่อกลับเจ้าหน้าที่จัดฝึกอบรมที่นายสมบูรณ์ (02-401-9889 ต่อ 5112, 5914)

      เพื่อยืนยันการเข้ารับการฝึกอบรม

§  หากมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการอบรม ในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือเกิดภัยธรรมชาติ ตามประกาศของรัฐบาล

      สถาบันยินดีคืนเงินค่าลงทะเบียนแก่ผู้สมัครและขอสงวนสิทธิที่จะไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่าย อื่นใดนอกเหนือจากค่าลงทะเบียน

การสมัครฝึกอบรม

ผู้สนใจสามารถส่งใบสมัครได้ที่ ฝ่ายบริการวิชาการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เลขที่ 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

หรือ ส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ somboon@tint.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ที่หมายเลข 02-401-9889 ต่อ 5914

     หมายเหตุ  ข้าราชการเข้ารับการอบรมโดยไม่ถือเป็นวันลา เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา

 วิธีการฝึกอบรม

        ภาคบรรยาย ภาคปฏิบัติการ และการทดสอบ

หลักสูตรและหัวข้อวิชาในการฝึกอบรม

         รายละเอียดหลักสูตรฝึกอบรมการป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2 มีดังนี้

ก.   ภาคการบรรยาย รวม 36 ชม.

1.

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และรังสี

1.5 ชม.

2.

อันตรกิริยาของรังสีต่อวัตถุ 

1.5 ชม.

3.

หลักการป้องกันอันตรายจากรังสี 

1.5 ชม.

4.

การป้องกันอันตรายจากรังสีที่มาจากภายนอกร่างกาย 

1.5 ชม.

5.

หน่วยวัดรังสี/ การวัดและการประเมินการได้รับรังสี

จากภายนอกร่างกาย

3.0 ชม.

6.

ผลของรังสีต่อสิ่งมีชีวิต

1.5 ชม.

7.

หัววัดรังสี เครื่องวัดรังสี และการวัดรังสี

3.0 ชม.

8.

การขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี 

1.5 ชม.

9.

พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559

และที่แก้ไขเพิ่มเติม /กฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

1.5 ชม.

10.

การวัดและการประเมินการได้รับรังสีจากภายในร่างกายบุคคล /

การตรวจสอบการรั่วของวัสดุมมันตรังสี

1.5 ชม.

11.

การจัดการกากกัมมันตรังสี 

1.5 ชม.

12.

การตรวจสอบและการชำระล้างความปนเปื้อนทางรังสีบนพื้นผิว

1.5 ชม.

13.

กัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อมและการตรวจวัด

1.5 ชม.

14.

การใช้เครื่องมือวัดรังสี และการเข้าสำรวจพื้นที่

ปฏิบัติงานเพื่อการป้องกันอันตรายจากรังสี

1.5 ชม.

15.

ศักยภาพ สมรรถนะและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี

1.5 ชม.

16.

การบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพเกี่ยวกับความปลอดภัย

ทางรังสี I :การวางแนวปฏิบัติ/ การจัดทำและทบทวนแผน

การป้องกันอันตรายจากรังสี

3.0 ชม.

17.

การบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพเกี่ยวกับความปลอดภัย

ทางรังสี II : หลักการเบื้องต้นในการออกแบบสถานปฏิบัติการ

ทางรังสี

1.5 ชม.

18.

การบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพเกี่ยวกับความปลอดภัย

ทางรังสี III : การปฏิบัติงานกับต้นกำเนิดรังสีอย่างปลอดภัย/

การจัดทำและทบทวนมาตรการความปลอดภัยทางรังสี

1.5 ชม.

19.

การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี /

การจัดทำและทบทวนแผนความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี

1.5 ชม.

20.

การจัดทำและทบทวนแผนปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

หรือเกิดอุบัติเหตุทางรังสี

1.5 ชม.

21.

การตรวจสอบประเมินความปลอดภัยทางรังสี

การตรวจพิสูจน์และการสอบสวน

กรณีเกิดเหตุผิดปกติทางรังสี

1.5 ชม.

ข.     ภาคปฏิบัติการ รวม 15 ชม.

.     1. 

การใช้เครื่องวัดรังสีเพื่อการปฏิบัติงาน

อย่างปลอดภัยกับวัสดุกัมมันตรังสีหรือเครื่องกำเนิดรังสี

ชม.

.     2. 

การตรวจวัด การตรวจสอบ และตรวจพิสูจน์

เพื่อการประเมินความปลอดภัยทางรังสี

ชม.

       3. 

การกำบังรังสี

ชม.

.     4. 

การตรวจวัดและประเมินการฟุ้งกระจายกัมมันตภาพรังสีในอากาศ

ชม.

.     5. 

การตรวจวัด การชำระล้างการปนเปื้อนทางรังสี

และการประเมินการแพร่กระจายของการปนเปื้อนทางรังสี

ชม.

 ค.  การทดสอบ  3 ชั่วโมง

หมายเหตุ   ภาคปฏิบัติการแบ่งเป็น 5 หัวข้อวิชา โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมหมุนเวียนเข้าไปปฏิบัติงาน เป็นกลุ่มย่อยตามรายวิชาระยะเวลาในการฝึกอบรมรวม 10 วันทำการ

 


กำหนดการฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2

ประจำปีงบประมาณ 2566

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

จำนวน  1 รุ่น  รุ่นละประมาณ 40   คน

ค่าลงทะเบียน ท่านละ  10,700   บาท (ราคารวม 7%VAT แล้ว)

รุ่นที่ 17 ช่วงเดือนมีนาคม 2566




 

การชำระเงินค่าลงทะเบียนฝึกอบรม

วิธีการชำระเงิน   โดยโอนเงินผ่านธนาคาร ก่อนการฝึกอบรม

โอนเข้า ชื่อบัญชี รายได้สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

ธนาคารกรุงไทย  สาขาพหลโยธิน 39  เลขที่ 039-603-2672

และขอให้ส่งสำเนาการโอนเงิน ถึง นายสมบูรณ์ ที่ somboon@tint.or.th

พร้อมระบุชื่อ  หน่วยงาน  ที่อยู่ และหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

สำหรับออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี

 

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เป็นนิติบุคคลมาตรา แห่ง พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542   (ให้องค์การมหาชนเป็นหน่วยงานของรัฐและนิติบุคคล)   มิใช่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามคำนิยามในมาตรา39   แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นเมื่อสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีรายได้จากการดำเนินการ

ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

ข้อมูลเพิ่มเติม

1. กรณีที่ท่านไม่สามารถมาเข้ารับการฝึกอบรมตามที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้ล่วงหน้าแล้ว ท่านสามารถส่งผู้แทนมาเข้ารับการฝึกอบรมได้

          โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรมาที่คุณสมบูรณ์ ก่อนการฝึกอบรม 5 วันทำการ สถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่าลงทะเบียน

2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมโปรดนำเครื่องคิดเลขทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประกอบการฝึกอบรมด้วย

3. เนื่องจากสถานที่จัดหลักสูตรมีพื้นที่จอดรถจำกัดและไม่สะดวกในการจัดหาที่จอดรถ 

      สถาบันฯ จึงขอความร่วมมือผู้เข้าฝึกอบรมทุกท่านโปรดหลีกเลี่ยงการเดินทาง

      ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล   และขออภัยในความไม่สะดวก มา ณ โอกาสนี้

4. หากท่านมีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าฝึกอบรม กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่จัดฝึกอบรม

        (นายสมบูรณ์) ที่ 02-401-9889 ต่อ 5112, 5914   ก่อนการฝึกอบรมด้วย

5. หากท่านประสงค์จะจองที่พักใกล้สถาบันฯ มีดังนี้

5.1   KU. Home อยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) โทร. 02-579-0010 ถึง 15

5.2    โรงแรมมารวยการ์เดน ถนนพหลโยธิน (ตรงข้ามกรมป่าไม้) โทร. 02-561-0510

              ถึง47 ต่อ 186

5.3   โรงแรมหลุยส์ แทรเวิร์น  ถนนวิภาวดีรังสิต โทร. 02-551-2191

5.4   ห้องพักของศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชน (มก.) โทร. 02-940-5700 ต่อ 1111

5.5   The Premium apartment โทร. 095-4655691


6.  แผนที่ของสถาบันฯ สามารถเปิดดูได้ใน www.tint.or.th